ตำนานดาบพุทไธสวรรย์
- Art Acs
- Aug 21, 2017
- 2 min read


ก่อนที่จะเข้าสู่เรื่องราวอันยาวนานของ “ พุทไธสวรรย์ ” ใคร่จะขออัญเชิญ พระราชดำรัสของ องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เมื่อคราวเสด็จทอดพระเนตร พระราชวังเมืองโบราณ อยุธยา พระราชทานธงและเนื้อเพลง “ เราสู้ ” แก่ทหาร ตำรวจ อาสาสมัคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ตอนหนึ่งว่า “ เรื่องการรู้จักบ้านเมืองของตนเอง เป็นเรื่องสำคัญที่สุดของการสร้างรากฐานแห่งความรู้สึกในชาติ การที่เราจะศึกษา และรักอะไรได้ลึกซึ้งและยืนยาว เราต้องรู้จักสิ่งที่เราจะรักเสียก่อน เราจะรักโดยไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็นนั้น ย่อมทำได้ยาก และแม้จะรักได้ ก็เพียงรักด้วยอารมณ์เท่านั้น ไม่ใช่รักด้วยเหตุผล การโฆษณาน้อมใจด้วยเพลงก็ดี ด้วยละครก็ดี อาจทำให้เกิดความรักชาติได้เหมือนกัน แต่เป็นไปโดยผิวเผิน ไม่แน่นแฟ้น เท่ากับที่เราจะพยายามบอกว่า แผ่นดินของเราอยู่ที่ไหนบ้าง เป็นอย่างไร มีอะไรควรจะรักษาหวงแหน นี่เป็นเพียงข้อคิด เพื่อชี้ให้เห็นว่า “ ความเป็นไทย ” มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตของคนไทยด้วย ควรที่เราคนไทยจะต้องมีความเข้าใจ “ ความเป็นไทย ” ให้ตรงกัน ควรจะต้องสั่งสอนอบรม ให้เด็กไทยซาบซึ้งความหมาย “ ความเป็นไทย ” และดำเนินชีวิตตามแบบฉบับของคนไทย เพื่อคงความเป็นไทยเอาไว้ให้ได้ ถึงเวลาแล้วที่เราจำต้องสร้างความรู้สึก ของคนในชาติของเรา ให้รักความเป็นไทย ตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเด็ก ” คนไทยเท่านั้น ที่เข้าใจและซาบซึ้ง ในภาษาขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรม และศิลปะของไทยเราเอง และก็คนไทยเท่านั้นที่รักษา และพัฒนามรดกเหล่านั้นของเรา ให้เจริญยิ่งขึ้นไป ในปัจจุบัน เมืองไทยเป็นแห่งเดียวในโลก ที่มีพุทธศาสนารุ่งเรืองที่สุด มีวัดที่ประกอบด้วย ศิลปะที่งดงามวิจิตร และมีโบราณสถาน ที่แสดงถึงความรุ่งโรจน์ ในอดีตสมัยอยู่เป็นอันมาก นอกจากนั้น วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของชาติไทย ก็เป็นสิ่งที่ชาวต่างประเทศต้องสนใจ ด้วยความนิยมชมชื่น ศิลปะของไทยนั้น มีความงดงามละเมียดละมัย ไม่ด้อยไปกว่าของต่างชาติ แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่คนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มิได้ให้ความสนใจ ในสิ่งมีค่าเหล่านั้นเท่าที่ควร ซึ่งได้มีชาวต่างประเทศเคยแสดงความห่วงใยว่า “ คนไทยกำลังจะทำลายตัวเอง ด้วยความหลงงมงาย ในของต่างชาติ ” แผ่นดินไทยของเรา บางครั้งร้อน บางครั้งเย็น เราก็อยู่ของเรามาได้ เราจะต้องสู้ อยู่บนผืนแผ่นดินไทยของเรานี้ เราถอยต่อไปไม่ได้อีกแล้ว เราจะไม่หนีอีกแล้ว เราจะต้องสู้เพื่อชาติไทยและประชาชนไทย ในท่ามกลางกระแสของโลก ที่แปรเปลี่ยนผกผัน ไทยยังคงเป็นไทยอยู่ได้ก็ด้วยความสำนึกในเอกลักษณ์ มรดกวัฒนธรรมที่มีมาสืบเนื่องช้านาน เรามีศาสนาพุทธ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว น้อมนำจิตใจมีวิถีชีวิตแบบไทย ที่ผสมกลมกลืน ผสานสอดคล้องด้วยสุนทรียะและภูมิปัญญา ภายใต้ความเชื่อถือ และคติธรรมทางพุทธศาสนา เมืองไทยของเราโ ชคดีนัก ที่มีสถาบันพระมหากษัตริย์มิได้เป็นเพียง “ สถาบัน ” หรือ “ สัญลักษณ์ ” หากว่าองค์พระประมุขทรงเป็นศูนย์รวมน้ำใจ ร้อยรักความเป็นชาติ ก่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่ชน ทรงเป็นพลังผลักดัน นำประเทศพ้นวิกฤต สู่ความเป็นเอกราช เฉกเช่นวันนี้และสืบต่อไป ศิลปะและวัฒนธรรมนั้น เป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่าๆแผ่นเดียวก็มีค่า ควรจะต้องช่วยกันรักษาไว้ ถ้าขาดสุโขทัย อยุธยา และกรุงเทพฯแล้ว ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย และจากอิฐเก่าๆเหล่านี้ ประกอบกับซากปรักหักพังของศรีอยุธยา ทำให้บุคคลท่านหนึ่งเกิดแรงบันดาลใจ “ คนไทยนี้สิ้นฝีมือแล้ว หรือ? อยุธยาจึงเหลือแต่ซาก ให้เราได้เห็นจนเจนตา ” อาจารย์สมัย เมษะมาน อดีตครูใหญ่โรงเรียนบ้านผักไห่ เป็นชาวอยุธยาโดยกำเนิด ท่านเห็นสิ่งเหล่านี้อยู่ชั่วนาตาปี อิฐก้อนแล้วก้อนเล่า ที่ย่างเหยียบลงไปตั้งแต่เล็กจนโต จิตก็หวนระลึกถึงอดีต วัดวาอารามปราสาทราชวัง มณเฑียรอันใหญ่โตรุ่งเรืองในอดีต ต้องพลันสูญสิ้น เพราะความแตกแยก และประโยชน์เพียงเศษปฏิกูลของคนบางคน วัดพุทไธสวรรย์ นั้นเล่า แม้ข้าศึกจะมิได้ทำลาย แต่ด้วยกาลเวลากับคนใจบาปหยาบช้า เข้ามาขุดคุ้ยหาสมบัติ ก็มาพลอยพินาศสูญสลาย วัดพุทไธสวรรย์ อนุสรณ์แห่งการสร้างชาติ ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ซึ่งพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนาเป็นพระอารามหลวง คราวอพยพผู้คนหนีโรคระบาดมาจากสุวรรณภูมิ วั
ดพุทไธสวรรย์ ซึ่งเปรียบเสมือนมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย สั่งสอนอบรมศิลปะทุกแขนง แม้กระทั่งยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีทางการเมือง การปกครอง แม้องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระเอกาทศรถ พระเจ้าตากสิน พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และพระยาสุรสีย์บวรราชาเจ้า ตลอดจนขุนพล ขุนศึก กำลังฝึกซ้อมอาวุธเพื่อเตรียมความพร้อมไว้ในยามศึก วัดพุทไธสวรรย์ อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พระอาจารย์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และพระเพทราชา วัดพุทธสวรรย์ เป็นวัดที่ “ พระอุบาลี ” ไปสืบทอดพระพุทธศาสนาในลังกา จนได้ชื่อว่า “ สยามวงศ์ หรือ อุบาลีวงค์ ” ในปัจจุบัน บัดนี้วัดพุทไธสวรรย์กลายเป็นวัดร้างมีแต่เสียงร้องของนกกา สิ่งเหล่านี้ได้ปลุกเร้าสำนึกของ อาจารย์สมัย เมษะมาน อยู่ตลอดเวลา ท่านเดินทางเข้ากรุงเทพ เพื่อศึกษาจนจบพละศึกษาเอก ด้วยสำนึกถึงคุณแผ่นดินและบรรพบุรุษ ตลอดจนพระบารมีของ พระเจ้าอู่ทองที่ได้ทรงเสียสละ อุทิศพระวรกาย ด้วยความเหน็ดเหนื่อย เพื่อแลกผืนแผ่นดินศรีอยุธยา จึงนำเรื่องเข้าปรึกษาหารือกับท่านอาจารย์นาค เทพหัสดิน ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น และเป็นอาจารย์สอนวิชา กระบี่ – กระบอง ของวิทยาลัยพละศึกษา ขออนุญาตท่านฝึกศิลปะการต่อสู้ประจำชาติ ท่านก็สนับสนุน จึงเริ่มทดลองฝึกสอนครั้งแรกขึ้นที่ข้างวัดระฆังโฆษิตาราม โดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและปลูกฝัง ให้เด็กไทยมีความรักสามัคคีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ บูชาบรรพบุรุษ ที่ได้ยอมเสียสละเลือดเนื้อชีวิต และความลำบากยากเข็ญ เข้าแลกผืนแผ่นดินไทย เอาไว้ให้ลูกหลานปัจจุบัน เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังให้เด็กไทย ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท รู้จักนำอดีตมาเป็นบทเรียน เสริมสร้างความสามัคคี มีน้ำใจเป็นนักกีฬา รู้จักเสียสละ ส่งเสริมและปลูกฝังให้เยาวชน ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ส่งเสริมสมรรถภาพทางร่างกาย และจิตใจให้แข่งแกร่ง อดทน เป็นการเตรียมความพร้อม เพื่อช่วยชาติในยามคับขัน และหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติดทั้งปวง ส่งเสริมและปลูกฝังความเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดี ตามหลักมนุษยสัมพันธ์ ส่งเสริมและปลูกฝังคุณธรรมประจำใจ สมดังคำว่า “ พัฒนาชาติ ต้องพัฒนาคน พัฒนาคนต้องพัฒนาที่ศีลธรรม ” ส่งเสริมและปลูกฝังให้เยาวชน มีความกตัญญูรู้คุณต่อบิดา มารดา ครู อาจารย์ และผู้มีพระคุณ ส่งเสริมและปลูกฝังให้เยาวชน รักและหวงแหนในเกียรติภูมิของตน และของชาติ ต่อมามีเยาวชนสนใจมากขึ้น ท่านอาจารย์สมัย เมษะมาน จึงขออนุญาตจดทะเบียนเป็นโรงเรียน ใช้ชื่อว่า “ โรงเรียนสำนักดาบพุทไสวรรย์ แห่งกรุงศรีอยุธยา ” ณ บริเวณสี่แยกบ้านแขก ถนนอิสสระภาพ เมื่อวันที่ ๖ พย. ๒๕00 และในขณะเดียวกัน ก็ได้ขยายขอบเขต เข้าไปฝึกอบรมผู้นำเยาวชน ร.พ.ช. ประจำหมู่บ้านในเขตดินแดนสีชมพูทั่งประเทศ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันตนเอง ป้องกันหมู่บ้าน โดยท่านได้รับตำแหน่งเป็น “ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการต่อสู้ประจำชาติ ” สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ต่อมาได้ขยายผล ไปสู่ลูกเสือชาวบ้าน อส.ทสปช. และ พัฒนาชุมชนทั่วประเทศ เมื่อเห็นว่าวิชานี้ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเยาวชนไทย จึงกราบบังคมทูลขอพระราชทานธงชัย และตราประจำโรงเรียน สำนักดาบพุทไธสวรรย์ เมื่อวันที่ ๗ ธค. ๒๕00เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรกิจกรรม และการดำเนินงานต่างๆของโรงเรียน จึงดำรัสแก่อาจารย์สมัย ว่า “ จงทำตนให้เป็นที่น่าเชื่อถือ อย่าเลิกนะ ฉันเอาใจช่วย จงจัดให้เป็นกองทัพ ” ด้วยถ้อยรับสั่งเพียงสั้นๆ เหมือนมีน้ำอมฤตมาชโลมใจ ทำให้อาจารย์สมัย เกิดพละพลังในการทำงานให้ยิ่งขึ้นไป โดยไม่ย่นย่อ ต่อมาได้ขยายงานเผยแพร่เข้าไปในหน่วยงานทหาร ตำรวจตระเวนชายแดน และหน่วยราชการต่างๆ จนได้รับเกียรติเป็นบุคคลดีเด่นของชาติ สาขาเผยแพร่เกียรติภูมิของชาติไทย ประจำปี ๒๕๓๗ ก่อนที่ท่านจะละสังขารไป เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๔0 แม้ว่าท่านอาจารย์สมัย เมษะมาน จะวางจากภาระในสังคมโลกนี้ไปแล้ว แต่งานและอุดมการณ์ของท่าน ก็ได้รับการสืบสานต่อไปโดยทายาท ซึ่งเป็นสายโลหิตของท่าน คือ อาจารย์ปราโมทย์ เมษะมาน บุตรคนโต ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นผู้รับผิดชอบ และบริหารสถาบัน การต่อสู้ปราโมทย์ยิม พุทไธสวรรย์ อาจารย์ปราโมทย์ เมษะมาน นับได้ว่าสืบสายเลือดทางการต่อสู้ จากอาจารย์สมัย ผู้เป็นบิดา มาตั้งแต่เยาว์วัย เป็นผู้สนใจในการถ่ายทอดความรู้ และศึกษา วิทยายุทธ ทุกประเภท และปัจจุบันมีชื่อเสียง ได้รับการยอมรับจากประชาชนไทย ไม่ยิ่งย่อนไปกว่าอาจารย์สมัย ผู้เป็นบิดา เป็นผู้ก่อตั้ง สถาบันศิลปะการต่อสู้ปราโมทย์ยิม พุทไธสวรรย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒0 ขึ้นที่ถนนเพชรบุรี นับเป็นสาขาของโรงเรียนสำนักดาบพุทไธสวรรย์ ฯ เป็นแห่งแรก โดยมีวัตถุประสงค์ และการดำเนินงานเช่นเดียวกัน โดยอาจารย์สมัยเป็นที่ปรึกษาอย่างใกล้ชิด เน้นการเผยแพร่ความรู้ในการสร้างความปลอดภัย และป้องกันตัวเองในสังคม สร้างหลักสูตร “ ไทยพิชัยยุทธ ” เป็นการต่อสู้ของชาติไทย ซึ่งเยาวชนจะต้องเรียนรู้เป็นศิลปะประจำชาติ จนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป หลักสูตร “ ไทยพิชัยยุทธ ” เป็นศิลปะกาต่อสู้ของไทย ผสมผสานมือเปล่าและอาวุธ ซึ่งอาจารย์ปราโมทย์ เมษะมาน มีความเชี่ยวชาญกาต่อสู้มือเปล่า โดยสำเร็จการศึกษา วิชายูโด คาราเต้ ไอคิโด และเคนโด จากสถาบันต้นตำรับประเทศญี่ปุ่น และมีคุณวุฒิสายดำชั้นสูงทุกวิชา ซึ่งนับได้ว่าเป็นบุคคลเดียวในประเทศไทย ที่มีความรู้แตกฉาน หลายแขนงวิชาการต่อสู้ประกอบกับได้รับการถ่ายทอดวิชา กระบี่ – กระบอง จากสำนักดาบพุทไธสวรรย์ โดยบิดาอาจารย์สมัย ประสิทธิประสาทให้จนหมดสิ้น และอาจารย์ปราโมทย์ เมษะมาน เอง ยังศึกษาค้นคว้า ตำรับพิชัยสงคราม ยุทธวิธีการต่อสู้ของการทหารของชาติไทยอย่างลึกซึ้งด้วยไม่เพียงเท่านั้น แม้วิชาดาบสากล ยังนับได้ว่าเป็นผู้มีฝีมือ เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมจัดตั้ง สมาคมดาบสากลแห่งประเทศไทย ฝึกสอนนักกีฬา จนสามารถส่งไปแข่งขันโอลิมปิคและท่านเองเข้าร่วมแข่งขัน และได้รับตำแหน่งแชมเปี้ยนดาบสากลคนแรกของเมืองไทยอาจารย์ปราโมทย์ เป็นผู้ช่วยบริหาร และวางหลักสูตรการเรียน การสอน โรงเรียนสำนักดาบพุทไธสวรรย์ ฯ ร่วมกับบิดา และตนเองไปเผยแพร่ ซึ่งชื่อเสียงศิลปะการต่อสู้อาวุธโบราณในต่างประเทศ โดยการสนับสนุนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทำให้ชาวต่างประเทศ นิยมชมชอบในศิลปะของไทย นับเป็นการสร้างชื่อเสียง ให้เป็นที่รู้จักในต่างประเทศ ซึ่งต่อมามีการตั้งสาขาในสหรัฐอเมริกา และจักรภพอังกฤษผลงานและกิจกรรมที่ทำชื่อเสียงแก่ อาจารย์ปราโมทย์ เมษะมาน เป็นอย่างมาก คือการจัดรายการ ศิลปะกาป้องกันตัวทางโทรทัศน์ ช่อง ๔ บางขุนพรหม ( ตั้งแต่มี โทรทัศน์เป็นสถานีแรกของไทย ) แนะนำและเผยแพร่สอนวิธีป้องกันตัว ให้พ้นอันตรายจากภัยต่างๆ ได้รับการเชื่อถืออย่างแพร่หลาย และยอมรับว่าเป็นผู้นำศิลปะการป้องกันตัว สอนทางโทรทัศน์เป็นคนแรก ซึ่งต่อมาได้ขยายไปเผยแพร่ทางสถานีโทรทัศน์ทุกสถานี รวมทั้งเป็นผู้กำกับการต่อสู้ แก่ภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ มีผลงานดีเด่นอีกด้วยเป็นวิทยากรพิเศษ สอนตามหน่วยราชการ ทหาร ตำรวจ และหน่วยกำลังสำคัญอาสา อปพร. ทสปช. และลูกเสือชาวบ้านทั่วประเทศจึงนับได้ว่า อาจารย์ปราโมทย์ เมษะมาน เป็นบุคคลที่เพียบพร้อมด้วยคุณวุฒิ และความสามารถ อันจะสืบสานและเป็นตัวแทน “ สำนักดาบพุทไธสวรรย์ ” ที่จะรักษา เผยแพร่ศิลปะการต่อสู้ของชาติไทย ให้รุดหน้าต่อไปในอนาคตซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สมาคมศิษย์เก่าสำนักดาบพุทไธสวรรย์ โดยมี พลตรี ฉัตรชัย ธรรมรักษา นายกสมาคม และศิษย์พุทไธสวรรย์ทุกคน จะได้ร่วมกันสร้างเกียรติประวัติแก่ สำนักดาบพุทไธสวรรย์ และสถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ สืบไป
Комментарии